การศึกษาเรื่อง : ผลการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งที่ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่
ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด
ผู้ศึกษา : ประภัทสรณ์ รุ้งดี
สังกัด : โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย
ปีการศึกษา : ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งที่ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่ ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิดในภาพ และศึกษาผลการเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งที่ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด แยกเป็นรายด้านกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด จำนวน 30 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง แบบประเมินพัฒนาการ นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t – test จากการศึกษาพบว่า
1. ผลการเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งที่ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่ ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด ในภาพรวม พบว่าหลังการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งที่ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่ ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 9.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.43 หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 แสดงว่า หลังการจัดกิจกรรมมีพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
2. ผลการเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งที่ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด แยกเป็นรายด้าน
2.1 ทักษะด้านการยืนเดินและนั่ง พบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.09 หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 แสดงว่า หลังการจัดกิจกรรมมีพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่
สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
2.2 ทักษะด้านการวิ่งและการเล่นลูกบอลพบว่าก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62 หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 แสดงว่า หลังการจัดกิจกรรมมีพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
2.3 ทักษะด้านทักษะการกระโดดพบว่าก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.92 หลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 แสดงว่าหลังการจัดกิจกรรมมีพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01